สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบผ้าลายพระราชทาน“ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”
โดยได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ซึ่งปรากฏอยู่บ่อยครั้งในฉลองพระองค์ของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั้นมีความหมายที่ดีและมีความงดงาม
จึงทรงนำมาต่อยอดให้มีความร่วมสมัยโดยในแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้งดังนี้
ลาย S ที่ท้องผ้า
หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้
เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับแต่ละท้องถิ่น
โดยลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S นี้ หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์
ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ
หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า
หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข
ลายต้นสนที่เชิงผ้า
หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ ลายต้นสนนี้
เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนมที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ
ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า
หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์
ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ใบความรู้ 1
พระราชทานในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ที่บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” โดยได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ซึ่งปรากฏบ่อยครั้งในฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นั้นมีความหมายที่ดีและมีความงดงาม จึงทรงนำมาต่อยอดให้มีความร่วมสมัย โดยแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้งดังนี้
ลาย S ที่ท้องผ้า
หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับแต่ละท้องถิ่น โดยลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S นี้ หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์
ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ
หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า
หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข
ลายต้นสนที่เชิงผ้า
หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ ลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ
ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า
หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน
———————
ใบความรู้ 2
พระราชทานในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ที่บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
เอกสารอ้างอิงสำหรับผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงค้นคว้าลวดลายโบราณที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ และฉลองพระองค์ในสมเด็จฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงนำมาออกแบบและผสมผสานให้เกิดความร่วมสมัย เป็นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ที่แฝงด้วยความหมายและประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทอผ้าในประเทศไทย
ฉลองพระองค์ชุดราตรี
ผ้าไหมมัดหมี่ลายนาคชูสน ผ้าลายนาคชูสน เป็นลวดลายเอกลักษณ์พื้นถิ่น ที่พบมากในเขตอีสานเหนือ แถบจังหวัดนครพนมตัดเย็บโดยนายอีริก มอร์เทนเซน (เดนมาร์ก, พ.ศ. ๒๔๖๙ – พ.ศ. ๒๕๔๑) จากห้องเสื้อบัลแมง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นแบบในการฉายพระฉายาลักษณ์ฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผ้าไหมแพรวาลายต้นสน
ผ้าลวดลายต้นสนปรากฏในวัฒนธรรมการทอผ้าไหมแพรวา เป็นหนึ่งในลวดลายหลัก พบมากที่กลุ่มทอผ้าแพรวาบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ฉลองพระองค์ผ้าไหมพื้นและผ้าไหมมัดหมี่ลายต้นสนและลายนาคชูสน
พระสนับเพลาด้านในตัดเย็บจากผ้าไหมมัดหมี่และทรงทับด้วยพระภูษา (แบบกระโปรง)
ตัดเย็บจากผ้าไหมมัดหมี่ลายต้นสนและลายนาคชูสน ลายต้นสนนี้เป็นลายเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่พบมากในแถบอีสานเหนือ ทรงในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมดัลลัส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ (พิพิธภัณฑ์ผ้า ๒๐๑๐.๓๘.๒๖a, c-e)
ฉลองพระองค์ผ้าไหมพื้นและผ้าไหมขิดลายกาบชบา
คนทั่วไปเรียกลายนี้ว่า “ขิดลายสมเด็จ” เนื่องจากโปรดเกล้าฯ ให้นำมาตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์
———————————